- หน้าแรก
- ข่าวจาก สศท.2/ท้องถิ่น
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจาก สศท.2/ท้องถิ่น
สศท.2 ร่วมประชุม คกก. ภัยพิบัติฯ จ.ตาก ครั้งที่ 1/2566
วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (ผอ.สศท.2) มอบหมายให้ นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการส่วนสารสนเทศการเกษตร เข้าร่วมประชุม
คณะกรรมการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัดตาก ครั้งที่ 1/ 2566 ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ ภัยพิบัติต้านการเกษตร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร และพิจารณา แบ่งพื้นที่ในการกำกับ ดูแล ป้องกันแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมให้แก่หน่วยงานในสังกัด กษ. จังหวัดตาก โดยมี นางประเทือง มหาพิรุณ รักษาราชการแทนเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตาก เป็นประธานการประชุม
ในการประชุมครั้งนี้ สศท.2 ได้นำเสนอข้อมูลให้ที่ประชุมทราบ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
1) ข้อมูลพยากรณ์ลำไยจังหวัดตาก ครั้งที่ 1 ปี 2566 อ้างอิงจากมติที่ประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลปริมาณการผลิต และโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ภาคเหนือ ว่า สถานการณ์การผลิตลำไยจังหวัดตาก ปี 2566 อาจไม่ได้รับผลกระทบจากผลผลิตกระจุกตัวจนเกิดราคาตกต่ำเพราะส่วนใหญ่เป็นลำไยนอกฤดู ที่จังหวัดได้กำหนดเป้าหมายสัดส่วนผลผลิตลำไยนอกฤดู : ในฤดู ให้ได้ร้อยละ 80: 20 หากไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยพิบัติทางภัยธรรมชาติ หรือโรคแมลงศัตรูพืชระบาด โดยแนวโน้มสถานการณ์ราคาคาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นเพราะเริ่มส่งออกได้มากขึ้น ในขณะที่ปริมาณผลผลิตรวมและผลผลิตต่อไร่อาจลดลง เนื่องจากเกษตรกรลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงจากสถานการณ์ราคาปัจจัยการผลิต ปุ๋ย และสารเคมี ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
2) สถานการณ์ราคายางพารา ที่ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่ดีนักต่อเนื่องจากจากช่วงปลายปี 2565 โดยราคายางพาราก้อนถ้วยในพื้นที่ตากเดือนธันวาคม 2565 อยู่ที่ 20.75 บาท /กิโลกรัม ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2564 (26.13 บาท /กิโลกรัม) หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ สืบเนื่องจากผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกถดถอย ทั้งจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน การดำเนินมาตรการควบคุมการจำกัดโรคโควิด-19 ตามนโยบาย Zero Covid อย่างเข้มงวดของประเทศจีน และสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้อุตสาหกรรมยางปรับตัวโดยนำยางสังเคราะห์เข้ามาใช้แทนยางพาราธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการยางพาราธรรมชาติลดลง ราคาจึงปรับตัวลดลง.
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 (พิษณุโลก)
คณะกรรมการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัดตาก ครั้งที่ 1/ 2566 ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ ภัยพิบัติต้านการเกษตร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร และพิจารณา แบ่งพื้นที่ในการกำกับ ดูแล ป้องกันแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมให้แก่หน่วยงานในสังกัด กษ. จังหวัดตาก โดยมี นางประเทือง มหาพิรุณ รักษาราชการแทนเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตาก เป็นประธานการประชุม
ในการประชุมครั้งนี้ สศท.2 ได้นำเสนอข้อมูลให้ที่ประชุมทราบ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
1) ข้อมูลพยากรณ์ลำไยจังหวัดตาก ครั้งที่ 1 ปี 2566 อ้างอิงจากมติที่ประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลปริมาณการผลิต และโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ภาคเหนือ ว่า สถานการณ์การผลิตลำไยจังหวัดตาก ปี 2566 อาจไม่ได้รับผลกระทบจากผลผลิตกระจุกตัวจนเกิดราคาตกต่ำเพราะส่วนใหญ่เป็นลำไยนอกฤดู ที่จังหวัดได้กำหนดเป้าหมายสัดส่วนผลผลิตลำไยนอกฤดู : ในฤดู ให้ได้ร้อยละ 80: 20 หากไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยพิบัติทางภัยธรรมชาติ หรือโรคแมลงศัตรูพืชระบาด โดยแนวโน้มสถานการณ์ราคาคาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นเพราะเริ่มส่งออกได้มากขึ้น ในขณะที่ปริมาณผลผลิตรวมและผลผลิตต่อไร่อาจลดลง เนื่องจากเกษตรกรลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงจากสถานการณ์ราคาปัจจัยการผลิต ปุ๋ย และสารเคมี ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
2) สถานการณ์ราคายางพารา ที่ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่ดีนักต่อเนื่องจากจากช่วงปลายปี 2565 โดยราคายางพาราก้อนถ้วยในพื้นที่ตากเดือนธันวาคม 2565 อยู่ที่ 20.75 บาท /กิโลกรัม ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2564 (26.13 บาท /กิโลกรัม) หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ สืบเนื่องจากผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกถดถอย ทั้งจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน การดำเนินมาตรการควบคุมการจำกัดโรคโควิด-19 ตามนโยบาย Zero Covid อย่างเข้มงวดของประเทศจีน และสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้อุตสาหกรรมยางปรับตัวโดยนำยางสังเคราะห์เข้ามาใช้แทนยางพาราธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการยางพาราธรรมชาติลดลง ราคาจึงปรับตัวลดลง.
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 (พิษณุโลก)